เมนู

9. กุลสูตร


ว่าด้วยการประสบบุญโดยฐานะ 5 ประการ


[199] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย ย่อมเข้าไปหา
สกุลใด พวกมนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ 5 ประการ
ฐานะ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล
จิตของพวกมนุษย์ย่อมเลื่อมใสเพราะเห็นท่าน สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติ
ปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์.
สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมลุกรับ
(ต้อนรับ) กราบไหว้ ให้อาสนะ (ที่นั่ง) สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทา
ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสกุลสูง.
สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมกำจัด
มลทินคือความตระหนี่ สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็น
ไปพร้อม เพื่อความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ (เกียรติยศสูง).
สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมจัดของ
ถวายตามสติกำลัง สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไป
พร้อมเพื่อความเป็นผู้มีโภคทรัพย์มาก
สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมไต่ถาม
สอบสวน ย่อมฟังธรรม สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็น
ไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวก
มนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ 5 ประการนี้.
จบกุลสูตรที่ 9

10. นิสสารณียสูตร


ว่าด้วยธาตุที่พึงพรากได้ 5 ประการ


[200] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ 5 ประการนี้ 5
ประการเป็นไฉน ? คือ เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลาย
จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปใน
กามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อม
เลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อม
ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากกามทั้งหลาย อาสวะทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกาม
เป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอ
ย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก
แห่งกามทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อ
เธอมนสิการถึงความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อม
ตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไป
ดีแล้ว อบรมดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท อาสวะ
ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้น
แล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิด
เพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งพยาบาท.